1. สร้างงานวิจัยพื้นฐานเพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ที่เกี่ยวข้องกับ embryonic stem cells, adult stem cells, induced pluripotent stem cells และ cancer stem cells
  1. พัฒนาเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการนำเซลล์ต้นกำเนิดชนิด embryonic stem cells, adult stem cells, induced pluripotent stem cells  และ cancer stem cells ไปใช้ประโยชน์ทางคลินิกและการพัฒนายารักษาโรค
  1. ศึกษาผลของเซลล์ต้นกำเนิดบำบัด (stem cell therapy) ในการประยุกต์ใช้ทางคลินิกในโรคที่พบบ่อยในประเทศไทย
    รวมทั้งโรคที่เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของโลกที่มีโอกาสจะรักษาด้วยเซลล์ต้นกำเนิดบำบัดได้ผลดี
  1. สร้างเครือข่ายวิจัยที่เกี่ยวกับ stem cells และ stem cell therapy ทั้งกับนักวิจัยในคณะ นอกคณะในมหาวิทยาลัยมหิดล นักวิจัยมหาวิทยาลัยอื่น ทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด ตลอดจนนักวิจัยจากต่างประเทศ ทั้งเอเชีย ยุโรป สหรัฐอเมริกาและออสเตรเลีย
  1. สร้างบัณฑิตศึกษาทั้งปริญญาโทและเอก รวมทั้ง นักวิจัยรุ่นใหม่ โดยมุ่งเน้นการทำวิจัยเกี่ยวกับ stem cells และ stem cell therapy ซึ่งจะเป็นกำลังสำคัญในการสร้างงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับ stem cells และ stem cell therapy ในอนาคตเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันกับประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์
  1. ยกระดับงานวิจัยทางด้านเซลล์ต้นกำเนิดในประเทศไทยไปสู่มาตรฐานระดับนานาชาติ