ในช่วงครึ่งหลังของศตวรรษที่ผ่านมา วงการแพทย์ได้ให้ความสนใจเรื่องการปลูกถ่ายอวัยวะเพื่อรักษาโรคที่มีอวัยวะพิการ  ได้แก่ โรคไตวาย  โรคตับวาย  โรคหัวใจพิการ  ความสำเร็จในการผ่าตัดและประสิทธิภาพของยากดภูมิคุ้มกันเพื่อให้ผู้ป่วยยอมรับอวัยวะที่ได้รับจากผู้อื่น  ทำให้การปลูกถ่ายอวัยวะประสบความสำเร็จและแพร่หลายไปทั่วโลก จนเกิดปัญหาการขาดแคลนอวัยวะขึ้นในปัจจุบัน  เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวนักวิทยาศาสตร์จึงหันมาสนใจการสร้างอวัยวะเทียมและค้นหาวิธีการที่จะซ่อมแซมหรือสร้างอวัยวะเหล่านั้นขึ้นมาใหม่  ความก้าวหน้าในเรื่องนี้ปรากฏเป็นรูปธรรมเมื่อนักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษจากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ประสบความสำเร็จในการเพาะเลี้ยงเซลล์ต้นกำเนิดที่แยกได้จากตัวอ่อนของหนูในปี พ.ศ. 2524 ซึ่งนำไปสู่ความสำเร็จในการเพาะเลี้ยงเซลล์ต้นกำเนิดจากตัวอ่อนของมนุษย์ โดยนักวิทยาศาสตร์ชาวสหรัฐอเมริกาจากมหาวิทยาลัยวิสคอนซินเมื่อ พ.ศ. 2541 การค้นพบครั้งนี้ทำให้มีผู้สนใจทำวิจัยเกี่ยวกับเซลล์ต้นกำเนิดกันอย่างกว้างขวาง รวมทั้งมีความหวังที่จะใช้เซลล์ต้นกำเนิดมาใช้รักษาโรคต่างๆ ในมนุษย์ ทำให้เกิดศาสตร์แขนงใหม่ที่เรียกว่า Regenerative medicine ซึ่งมุ่งหวังที่จะหาวิธีการในการซ่อมแซมอวัยวะต่างๆ ของร่างกายที่ผิดปกติจากโรค ความเสื่อม  ความแก่  และอุบัติภัยต่างๆ  โดยกระบวนการในการซ่อมแซมอวัยวะต่างๆ ดังกล่าวอาจทำได้โดยการปลูกถ่ายเซลล์ใหม่เข้าไปเพื่อทำให้เกิดการสร้างเนื้อเยื่อใหม่ในบริเวณที่ทำการปลูกถ่าย หรือในบางกรณีโดยการกระตุ้นให้เซลล์หรือเนื้อเยื่อบริเวณใกล้เคียงแบ่งตัว เพื่อที่จะซ่อมแซมบริเวณที่ผิดปกติ

เซลล์ต้นกำเนิดหรือสเต็มเซลล์คือ เซลล์ที่มีความสามารถในเจริญไปเป็นเซลล์หรือเนื้อเยื่อต่างๆ ได้หลายชนิด  เซลล์ต้นกำเนิดมีคุณสมบัติที่สำคัญ 2 ประการคือ 1) สามารถแบ่งตัวเพิ่มจำนวนได้เป็นทวีคูณ โดยสามารถที่จะคงคุณลักษณะเดิมไว้ได้ในขณะที่เพิ่มจำนวน และ 2) สามารถเจริญเป็นเซลล์ที่จำเพาะชนิดใดชนิดหนึ่งหรือหลายชนิดได้เมื่อได้รับสิ่งกระตุ้นที่เหมาะสม  ด้วยคุณสมบัติดังกล่าวทำให้วงการแพทย์คาดหวังว่าจะสามารถนำเซลล์ต้นกำเนิดชนิดต่างๆ มาใช้ในการรักษาโรคที่มีสาเหตุมาจากความเสื่อมหรือความเสียหายของอวัยวะ อาทิเช่น โรคพาร์กินสัน  โรคสมองเสื่อม  โรคมอเตอร์นิวโรน  โรคหลอดเลือดสมองตีบ  โรคเบาหวาน  โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด  โรคตับแข็ง  โดยการใช้สารกระตุ้นเพื่อเหนี่ยวนำเซลล์ต้นกำเนิดให้พัฒนาไปเป็นเซลล์หรือเนื้อเยื่อของอวัยวะต่างๆ ตามที่ต้องการ

อย่างไรก็ตามการใช้เซลล์ต้นกำเนิดในการรักษา ยังอยู่ในขั้นตอนของการวิจัย โดยเฉพาะงานวิจัยพื้นฐาน (basic research) ที่เกี่ยวข้องกับการเพาะเลี้ยงเซลล์ ตลอดจนการพัฒนาเซลล์ต้นกำเนิดให้เป็นเซลล์ที่ต้องการ ในปัจจุบันมีการทำวิจัยเกี่ยวกับเซลล์ต้นกำเนิดอย่างแพร่หลายในหลายประเทศทั่วโลก สำหรับประเทศไทยงานวิจัยทางด้านนี้ยังมีไม่มาก เนื่องจากประเทศไทยมีนักวิจัยที่เป็น basic scientist ที่เชี่ยวชาญทางด้านเซลล์ต้นกำเนิดไม่เพียงพอ คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล มีความพร้อมที่จะเป็นผู้นำในการทำงานวิจัยเกี่ยวกับเซลล์ต้นกำเนิด มีห้องปฏิบัติการที่ได้มาตรฐาน GMP และมีเครื่องมือเครื่องใช้และอุปกรณ์ต่างๆ ที่จำเป็นอย่างเพียงพอ มีอาจารย์แพทย์ที่เป็น clinician ที่สนใจจะนำเซลล์ต้นกำเนิดมาใช้ในการรักษา มีผู้ป่วยจำนวนมากที่เป็น candidate ที่จะได้รับการรักษาด้วยเซลล์ต้นกำเนิดบำบัด แต่ยังขาดแคลนแพทย์ที่เป็นนักวิจัย และ นักวิจัยที่เป็น basic scientist ที่มีความรู้ความชำนาญทางด้านเซลล์ต้นกำเนิด ทำให้งานวิจัยทางด้านนี้ไม่ก้าวหน้าไปอย่างที่ควรจะเป็น

ด้วยเล็งเห็นถึงปัญหาดังกล่าว ในปี พ.ศ. 2553 ศูนย์ความเป็นเลิศทางงานวิจัยสเต็มเซลล์ของศิริราช (Siriraj Centre of Excellence for Stem Cell Research, SiSCR) จึงได้รับการก่อตั้งขึ้นที่ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล เพื่อรวบรวมนักวิจัยที่มีความรู้ความชำนาญในด้านการทำวิจัยเซลล์ต้นกำเนิด เพื่อทำงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์พื้นฐาน ซึ่งมีความจำเป็นอย่างยิ่งในการพัฒนาต่อยอดงานวิจัยเซลล์ต้นกำเนิดในประเทศไทยให้มีมาตรฐานและความก้าวหน้า ทัดเทียมกับนานาอารยประเทศ โดยมุ่งเน้นการพัฒนาความรู้และเทคโนโลยีเซลล์ต้นกำเนิดที่มีศักยภาพในการนำไปประยุกต์ใช้เพื่อพัฒนาการวินิจฉัยและการรักษาฟื้นฟูสภาวะเสื่อมของเนื้อเยื่อและอวัยวะที่เป็นปัญหาสำคัญของประเทศไทยในปัจจุบันให้ดีขึ้น โดยศูนย์ความเป็นเลิศทางงานวิจัยสเต็มเซลล์ของศิริราช มีความมุ่งหมายจะเป็นผู้นำทางการวิจัยเกี่ยวกับเซลล์ต้นกำเนิดในประเทศไทยและในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ รวมทั้งจะเป็นศูนย์ในการฝึกอบรมเพื่อสร้างนักวิจัยรุ่นใหม่ที่มีความรู้ความชำนาญทางด้านเซลล์ต้นกำเนิด  และจะเป็นศูนย์กลางในการพัฒนาความร่วมมือในการทำวิจัยและการถ่ายทอดเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องของประเทศไทยและภูมิภาคเอเชีย ผ่านทาง เครือข่ายงานวิจัยเซลล์ต้นกำเนิดของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก รวมทั้งเป็นแหล่งให้ความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องทันสมัยเกี่ยวกับเซลล์ต้นกำเนิดให้กับประชาชนผู้สนใจโดยทั่วไปเพื่อให้สังคมไทยสามารถปรับตัวให้เข้ากับความเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีเซลล์ต้นกำเนิดที่เป็นความหวังใหม่ของวงการแพทย์ได้อย่างเหมาะสมSince the latter half of the past century, the medical community has invented the organ transplantation procedure for treating patients with organ failures, such as liver cirrhosis, cardiomyopathy and chronic renal failure. Significant improvement in surgical technique and immunosuppressive regimens during the past decades leads to the high success rate of organ transplantation worldwide. Presently, one of the major limitations of organ transplantation is the shortage of suitable donor organs. To address this problem, several medical and scientific investigators have tried to find alternatives to replace damaged organs of patients by inventing artificial organs, inducing the regeneration of patient’s damaged tissues as well as transplanting the tissue culture-derived healthy cells into the patients with limited success.

In 1981, the scientific breakthrough was made at Cambridge University when Dr. Martin Evans successfully isolated the first embryonic stem (ES) cell line from pre-implantation mouse embryo. This pioneer work in the derivation of mouse ES cells subsequently led to the establishment of the first human ES cell line by Dr. James Thomson at the University of Wisconsin-Madison in 1998. The derivation of the first human ES cell line attracted a lot of public attentions with the hope of using such cells for treating many incurable diseases caused by irreversible tissue damages. Those recently recognized stem cell potentials have led to the establishment of the new medical discipline called “regenerative medicine” which focuses on the repairing of damaged tissues caused by injury, diseases or age-related degenerative processes by either transplanting healthy functional cells derived from stem cells into the patients or induction of the patient own stem/progenitor cells to regenerate and replace the damaged tissues.

Stem cells are a group of undifferentiated cells, which possess an extensive self-renewal property as well as the capacity to differentiate to functional cells with specific functions when induced by the appropriate micro-environmental conditions. Due to their unique properties, stem cells have been considered as a potential source for generating specific functional cells that could be used to replace the damaged or injured tissues associated with several diseases, such as cerebrovascular diseases, cardiovascular diseases, liver cirrhosis, diabetes, motor neuron diseases, Parkinson’s disease and Alzheimer’s disease by cell transplantation therapy.

However, most of the clinical applications of stem cells are still in the experimental phase and their potentials to be used in the clinical settings are yet to be verified. Despite the rapid progression in the field of stem cell research around the world during the last few years, stem cell research in Thailand is still in its infancy due to the shortage of stem cell researchers. To circumvent this limitation, the Siriraj Center of Excellence for Stem Cell Research (SiSCR) was established at the Faculty of Medicine Siriraj hospital, Mahidol University, in 2010 to enroll young generation of Thai stem cell researchers, encouraging and supporting them to continue their stem cell research and promoting the stem cell research activities in Thailand.